ข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.6 ปี 2560 ข้อที่ 5.
- รายละเอียด
- หมวด: เฉลยข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.6 ปี 2560
- สร้างเมื่อ วันพฤหัสบดี, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ๑๔:๒๗
- เขียนโดย SarnSeri
- ฮิต: 1092
ข้อที่ 5.
นักเรียนคนหนึ่งใส่โลหะชนิดเดียวกัน ที่มีขนาดเท่ากัน ลงในภาชนะแต่ละใบซึ่งบรรจุสารละลาย A B และ C ปรากฏผล ดังรูป
โจทย์ข้อนี้นั้น เราต้องมีความรู้อยู่เล็กน้อย ดังนี้ครับ
กำหนดให้กระดาษพีเอชแสดงสีตามค่า pH ของสารละลายตั้งแต่ 1 - 14 ดังนี้
ค่า pH | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
สีของกระดาษพีเอช | แดงเข้ม | แดง | แดงส้ม | ส้ม | เหลือง | เขียวเหลือง | เขียวอ่อน |
ค่า pH | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
สีของกระดาษพีเอช | เขียว | เขียวเข้ม | เขียวน้ำเงิน | น้ำเงินเขียว | น้ำเงิน | น้ำเงินม่วง | ม่วง |
ถ้าทดสอบค่า pH ของสารละลาย A B และ C ก่อนใส่ชิ้นโลหะลงในภาชนะ สีของกระดาษพีเอชควรเป็นดังข้อใด
ตัวเลือก | สารละลาย A | สารละลาย B | สารละลาย C |
1 | เหลือง | แดงเข้ม | น้ำเงินเขียว |
2 | แดง | ส้ม | ม่วง |
3 | ส้ม | เขียวเข้ม | น้ำเงินม่วง |
4 | แดงส้ม | น้ำเงิน | เหลือง |
ความรู้ข้อที่หนึ่ง : กรด
พี่ป้าน้าอาที่เป็นผู้หญิง คงเคยได้ยินคำว่า "น้ำกรด" กันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ กรดนั้นมีฤทธิ์กัดกร่อนผิวหนังของเราอย่างมาก จนตัวอิจฉาในละครไทยยุคหนึ่งต้องพยายามเอาน้ำกรดไปสาดใส่หน้านางเอกอยู่ตลอด ซึ่งก็เพราะต้องการให้หน้าของนางเอกเสียโฉม พระเอก(หน้าโง่) จะได้หันมารักตนเองแทน ซึ่งพระเอกในท้องเรื่องก็หน้าโง่จริงๆ ด้วยครับ เพราะพอเห็นใครก็ไม่รู้ที่หน้าตาผิวหนังมีแต่แผลพุพองก็ขับไล่ไสส่ง ไม่สอบถามให้ดีซะก่อนว่านั่นคือใคร นางเอกของเราก็เลยต้องระหกระเหเร่ร่อนไปอย่างน่าสงสาร ส่วนพระเอกก็ได้แต่นั่งทุกข์ใจว่าคนรักของตนหายไปไหน โดยมีตัวอิจฉาคอยประคบประหงม และใส่ความว่านางเอกแสนชั่วคนนั้น ได้หนีตามชายชู้ซึ่งเป็นเพื่อนรักเพื่อนแค้นของพระเอกไปเสียแล้ว
แล้วพี่ๆ ว่า พระเอก(หน้าโง่) คนนี้จะเชื่อไหมครับ
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร พระเอกจะหูตาสว่างเมื่อใด นางเอกผู้อาภัพจะมีชะตาชีวิตอย่างไร เดี๋ยวผู้น้อยจะมาเล่าให้ฟังต่อไปนะครับ
แต่ตอนนี้ มาเฉลยข้อสอบกันต่อก่อนนะครับ...
นักเรียนที่อยู่ ป.6 จะรู้จักกรดในอีกรูปแบบหนึ่งครับพี่น้อง
นักเรียนจะได้เรียนว่ากรดสามารถกัดกร่อนโลหะได้ดี ซึ่งเมื่อกัดกร่อนแล้วก็จะเกิดแก๊สไฮโดรเจนขึ้นมา ส่วนถ้ากรดไปกัดกร่อนหินปูน ก็จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมาครับ
ความรู้ข้อที่สอง : เบส
เบสนั้น ในสมัยก่อนนู้นมักเรียกกันว่า "ด่าง" ครับ เบสจะเป็นพวกที่อยู่ตรงกันข้ามกับกรด แต่ก็สามารถกัดกร่อนอะลูมิเนียมแล้วได้แก๊สไฮโดรเจนเช่นเดียวกับกรดเหมือนกันนะครับ ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าพูดถึงการกัดกร่อนโลหะ ก็อาจต้องวงเล็บไว้ซักนิดนึงว่า ถ้าโจทย์พูดถึงกรณีทั่วๆ ไป ก็มักจะต้องการให้นึกถึงกรดนะครับ เพราะโดยทั่วไปเบสจะไม่กัดกร่อนโลหะให้เกิดฟองแก๊สไฮโดรเจนเช่นเดียวกับกรดครับ
ความรู้ข้อที่สาม : pH paper
กระดาษวัดพีเอช เป็นกระดาษที่ใช้วัดค่าความเป็นกรดหรือเบสของสารนะครับ ซึ่งวิธีใช้ก็ง่ายมากๆ เลยครับ เราเพียงแต่เอาสารละลายนั้นนิดนึง มาแตะเข้ากับกระดาษวัดพีเอช แล้วก็เอาสีของกระดาษที่เปลี่ยนแปลงไปไปเทียบกับสีมาตรฐานที่กล่องของ pH paper ก็จะได้รู้กันในทันทีว่าสารละลายนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบสกันแน่ โดยสีมาตรฐานจะมีมาตรวัดอยู่ 14 ขั้น ซึ่งถ้าวัดได้ในช่วง 1 - 6 ก็จะถือว่าสารที่วัดได้นั้นเป็นกรด โดยถ้าเป็นกรดที่มีความเข้มข้นสูงมากๆ ก็จะมีตัวเลขน้อยๆ แต่ถ้าเป็นกรดที่มีความเข้มข้นน้อย ตัวเลขที่วัดได้ก็จะมากขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงเลข 6 ครับ
ส่วนถ้าวัดได้ ระดับ pH 7 นั้น ถือว่าสารนั้นไม่ใช่ทั้งกรดหรือเบส ซึ่งก็คือเป็นกลางนั่นเอง
ทีนี้ตามที่ได้โม้ให้ฟังไปแล้วว่า เบสจะอยู่ตรงข้ามกับกรด ดังนั้น pH ที่วัดได้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 8 - 14 ครับ โดย pH 14 ก็ถือว่าเป็นเบสเข้มข้นสูงสุด ส่วน pH 8 ก็ถือว่าเป็นเบสที่เข้มข้นน้อยที่สุดครับ ซึ่งหากนึกภาพไม่ออก ก็รบกวนดูภาพข้างล่างนี้นะครับ
เอาง่ายๆ แบบย่อๆ อย่างนี้ก่อนก็แล้วกันนะครับพี่น้อง...
ทีนี้เราก็มาลองทำโจทย์ข้อนี้ดูนะครับ
ตามรูปการทดลองในโจทย์ท่มีการนำโลหะไปแช่ในสารละลายแล้วเป็นฟองแก๊สเกิดขึ้น อย่างนี้ต้องเดาไว้ก่อนเลยครับว่าสารละลายนั้นต้องเป็นกรดอย่างแน่นอน โดยสาารละลาย B ต้องเป็นกรดที่แรงกว่าสารละลาย A เพราะมีฟองแก๊สเยอะกว่านั่นเองครับ
ส่วนสารละลาย C นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดฟองที่โลหะ ดังนั้น ก็อาจเป็นสารละลายที่เป็นกลาง หรือเป็นเบสก็ได้ครับ เพราะทั้งสารละลายที่เป็นกลาง หรือสารละลายที่เป็นเบสนั้น จะไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ จึงไม่มีฟองแก๊สเกิดขึ้นครับ
เอาหล่ะครับ ตอนนี้เราได้รู้แล้วว่า สารละลาย B เป็นกรดแก่กว่าสารละลาย A ส่วนสารละลาย C อาจเป็นเบสหรือเป็นกลางก็ได้
คราวนี้เราก็ไปเทียบสีที่กระดาษวัดพีเอช แล้วหาคำตอบที่ควรจะเป็นกัน...
โจทย์กำหนดให้กระดาษพีเอชแสดงสีตามค่า pH ของสารละลายตั้งแต่ 1 - 14 ดังนี้
ค่า pH | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
สีของกระดาษพีเอช | แดงเข้ม | แดง | แดงส้ม | ส้ม | เหลือง | เขียวเหลือง | เขียวอ่อน |
ค่า pH | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
สีของกระดาษพีเอช | เขียว | เขียวเข้ม | เขียวน้ำเงิน | น้ำเงินเขียว | น้ำเงิน | น้ำเงินม่วง | ม่วง |
โจทย์ถามว่า...ถ้าทดสอบค่า pH ของสารละลาย A B และ C ก่อนใส่ชิ้นโลหะลงในภาชนะ สีของกระดาษพีเอชควรเป็นดังข้อใด?
ซึ่งตอนนี้เรารู้แล้วนะครับว่า สาร A เป็นกรดน้อย สาร B เป็นกรดมากกว่า ส่วนสาร C เป็นกลางหรือเบสก็ได้
เราก็มาเทียบดูคำตอบแต่ละตัวเลือกกัน...
ตัวเลือก | สารละลาย A | สารละลาย B | สารละลาย C |
1 | เหลือง -->กรดน้อย(5) | แดงเข้ม -->กรดมาก(1) | น้ำเงินเขียว -->เบส(11) |
2 | แดง -->กรดมาก(2) | ส้ม -->กรดน้อย(4) | ม่วง --เบส(14) |
3 | ส้ม -->กรดน้อย(4) | เขียวเข้ม -->เบสน้อย(9) | น้ำเงินม่วง -->เบสมาก(13) |
4 | แดงส้ม -->กรดมาก(3) | น้ำเงิน -->เบส(12) | เหลือง ->กรดน้อย(5) |
เมื่อเราเทียบสีแล้วเราก็จะพบว่า คำตอบที่ควรเป็นไปได้มากที่สุดก็คือคำตอบข้อที่ 1. นะครับ
ดังนั้นก็ฟันธงลงไปเลยนะครับว่า คำตอบที่ถูกต้องก็ต้องเป็นคำตอบข้อที่ 1. อย่างแน่นอน น น น น