ข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.3 ปี 2560 ข้อที่ 8.
- รายละเอียด
- หมวด: เฉลยข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.3 ปี 2560
- สร้างเมื่อ วันพุธ, ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ ๐๗:๒๕
- เขียนโดย SarnSeri
- ฮิต: 1448
ข้อที่ 8.
การทดลองเปรียบเทียบความสามารถของการละลายของสาร A และ B ตามรูป
การทดลองนี้ควรแก้ไขที่ขั้นตอนใด จึงจะทำให้การทดลองเป็นไปตามวัตถุประสงค์
1. ขั้นที่ 1
2. ขั้นที่ 2
3. ขั้นที่ 3
4. ขั้นที่ 4
เป็นไงบ้างครับสำหรับข้อนี้
เดี๋ยวมาช่วยกันเฉลยนะครับ
ในเบื้องต้นนั้น พ่อแม่พี่น้องคงทราบถึงหลักเกณฑ์พื้นฐานในการทำการทดลองอยู่แล้วใช่ไหมครับ
แต่เพื่อทบทวนเล็กๆน้อยๆ ผู้น้อยคนนี้ขอเล่าย้อนหลังให้ฟังนิดนึงนะครับว่า
โดยทั่วไป เมื่อเราสงสัยเรื่องอะไร เราก็จะต้องทำการทดลองนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันสิ่งที่เราสงสัยอยู่ว่าเป็นไปตามที่เราคาดเดาไว้หรือไม่
ซึ่งหลักการพื้นฐานก็ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับพี่น้อง
เราก็เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราสงสัย
แล้วควบคุมสิ่งที่เราไม่สงสัยให้คงที่เอาไว้แค่นั้นเองครับ
ซึ่งถ้าจะพูดเพื่อเพิ่มความงงอีกเล็กน้อย ก็คือ เราจะเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น(คือสิ่งที่เราสงสัย) เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม(คือผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราสงสัย) โดยต้องควบคุมตัวแปรควบคุมให้คงที่อยู่เสมอในทุกๆชุดของการทดลอง(คือควบคุมไม่ให้สิ่งที่เราไม่สงสัยเปลี่ยนแปลง)
ดังนั้น สำหรับการทดลองตามโจทย์ที่ต้องการศึกษาความสามารถในการละลายของสาร A และ B
ก็คือ เรากำลังสงสัยอยู่ว่าระหว่างสาร A กับสาร B ใครละลายได้มากน้อยกว่ากันนั่นเอง ซึ่งเมื่่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องควบคุมสิ่งที่เราไม่สงสัยให้คงที่เอาไว้ เช่น ต้องไม่เปลี่ยนชนิดของสารที่เป็นตัวทำละลาย ต้องไม่เปลี่ยนปริมาตรของตัวทำละลาย ไม่เปลี่ยนอุณหภูมิของตัวทำละลาย อย่างงี้เป็นต้นครับ
ทีนี้ เรามาช่วยกันดูว่าการทดลองตามรูปมีขั้นตอนไหนที่น่าจะไม่ถูกต้องบ้าง...
ขั้นตอนที่ 1 ต้มน้ำในบีกเกอร์ เสร็จแล้วก็แบ่งใส่ภาชนะที่มีขนาดเท่ากัน 2 ใบซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2
ณ จุดตรงขั้นตอนที่ 2 ที่บีกเกอร์ทั้งสองแบ่งมาจากน้ำที่ต้มในบีกเกอร์เดียวกัน ดังนั้นเราก็หมายเหตุไว้ในใจได้ว่าอุณหภูมิของน้ำทั้งสองบีกเกอร์จะต้องเท่ากันอย่างแน่นอน ซึ่งเราก็จะได้ไม่สงสัยในภายหลังว่าการที่สารนู้นนี่นั่นละลายได้มากน้อยต่างกันเป็นเพราะตัวทำละลายมีอุณหภูมิต่างกันหรือไม่ และหากเราสังเกตุเพิ่มเติมอีกนิดนึง เราจะเห็นได้ว่ามีการใส่น้ำในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละบีกเกอร์ใช่ไหมครับ
พอมีถึงขั้นตอนที่ 3 ก็มีการใส่สารละลาย A และ B โดยใส่อย่างละ 1 กรัมเท่ากัน...
(โปรดรอสักครู่นะครับ)