ข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.6 ปี 2560 ข้อที่ 9.
- รายละเอียด
- หมวด: เฉลยข้อสอบวิทยาศาสตร์ สสวท. ป.6 ปี 2560
- สร้างเมื่อ วันจันทร์, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ๐๙:๔๑
- เขียนโดย SarnSeri
- ฮิต: 3121
ข้อที่ 9.
ทดสอบการปลดปล่อยยาจากแคปซูล A B C และ D ซึ่งแต่ละแคปซูลบรรจุยาแก้อักเสบ 10 กรัม ในสภาวะความเป็นกรด-เบส โดยนำมาใส่ลงในสารละลายที่มีค่า pH ต่างกันเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นวัดปริมาณยาแก้อักเสบที่ถูกปลดปล่อยจากแคปซูลลงในสารละลาย ได้ผลดังตาราง
แคปซูลใดเหมาะสมที่จะใช้บรรจุยาเพื่อรักษาแผลอักเสบที่ลำไส้เล็ก
1. แคปซูล A
2. แคปซูล B
3. แคปซูล C
4. แคปซูล D
เด็กๆ คงรู้จักแคปซูลยากันอย่างดีแล้วใช่ไหมครับ แคปซูลคือเปลือกของยานะครับ เปลือกที่ว่านี้มักจะทรงกระบอกปลายมนๆ ทั้งสองด้าน โดยภายในแคปซูลจะบรรจุไปด้วยตัวยาเม็ดเล็กๆ อยู่จำนวนมาก
แคปซูลยานั้น มีวัตถุประสงค์หลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือการกำหนดให้แคปซูลปลดปล่อยยาออกมาเมื่ออยู่ที่ตำแหน่งที่เหมาะสม เช่นยาบางชนิดอาจต้องการให้ออกฤทธิ์ที่สำไส้เล็ก เพราะฉะนั้นยานั้นจะต้องไม่ไปออกฤทธิ์ตอนอยู่ที่กระเพาะอาหารอย่างงี้เป็นต้นครับ
ซึ่งตามโจทย์นี้ ต้องการให้ยาไปออกฤทธิ์เพื่อรักษาแผลอักเสบที่ลำไส้เล็ก เพราะฉะนั้น เมื่อแคปซูลยาเคลื่อนที่ไปถึงลำไส้เล็กจะต้องปลดปล่อยตัวยาที่อยู่ภายในแคปซูลออกมา แต่เมื่อเรากินยาเข้าไปในร่างกายเราแล้ว เราคงไม่สามารถเข้าไปแกะแคปซูลออกได้อีก ดังนั้นกลไกหลักในการปลดปล่อยตัวยาออกมาก็คือการทำให้แคปซูลสลายตัวครับ ดังนั้นต้องหาวิธีที่ทำให้แคปซูลสลายตัวที่สำไส้เล็ก โดยไม่ชิงไปทำให้แคปซูลสลายตัวที่อื่นๆ เสียก่อน
พ่อแม่พี่น้องอาจจะไม่ทราบหรืออาจจะเลือนๆไปแล้ว แต่เด็กๆ ทราบกันดีครับว่าในระบบการย่อยอาหารของคนเรานั้น เมื่ออาหารผ่านหลอดอาหารเข้ามาแล้ว ก็จะผ่านไปย่อยที่กระเพาะอาหาร แล้วหลังจากนั้นก็จะผ่านไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก โดยกระเพาะอาหารจะมีสภาพเป็นกรด ส่วนลำไส้เล็กมีสภาพเป็นเบส
ดังนั้นจากโจทย์ แคปซูลที่ดีในที่นี้ จะต้องไม่ปลดปล่อยยาในกระเพาะอาหาร แต่ต้องปลดปล่อยยาได้ดีในลำไส้เล็ก นั่นคือเมื่ออยู่ในสภาพเป็นกรดจะต้องไม่ปลดปล่อยยา และปลดปล่อยยาเต็มที่เมื่ออยู่ในสภาพเบส
ซึ่งเมื่อพิจารณาตามตารางแล้ว ก็จะพบว่า :
แคปซูล A เมื่ออยู่ในสภาพกรด (ก็คือที่กระเพาะอาหาร) ปล่อยยาออกมาทั้งหมดเลย ในขณะที่ถ้าอยู่ในสภาพเบส ก็ปล่อยยาออกมาหมดเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อนำแคปซูลไปใช้จริง แคปซูลยาซึ่งต้องไหลผ่านกระเพาะก่อน ก็จะปล่อยยาหมดเกลี้ยงที่กระเพาะอาหารเลย ไม่มีโอกาสได้ไปออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็กแม้แต่น้อย
แคปซูล B เมื่ออยู่ในสภาพกรด ปล่อยยาออกมาตั้ง 6.6 กรัม (จากยา 10 กรัม) ในขณะที่ถ้าอยู่ในสภาพเบส ก็ปล่อยยาออกมา 6.4 กรัม (จาก 10 กรัม) ดังนั้น เมื่อนำแคปซูลไปใช้จริง ก็จะปล่อยยาที่กระเพาะอาหารไปเยอะเลย เหลือปล่อยที่ลำไส้เล็กเพียง 2.176 กรัม (คำนวณจาก (10-6.6) x (6.4/10)) การออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็กจึงน้อยมากเลยครับ
แคปซูล C เมื่ออยู่ในสภาพกรด ปล่อยยาออกมาเพียง 1.0 กรัม (จากยา 10 กรัม) ในขณะที่ถ้าอยู่ในสภาพเบส ก็ปล่อยยาออกมา 9.4 กรัม (จาก 10 กรัม) ดังนั้น เมื่อนำแคปซูลไปใช้จริง ก็จะสูญเสียยาที่กระเพาะอาหารไปเล็กน้อย แล้วเหลือปล่อยที่ลำไส้เล็ก 8.46 กรัม (คำนวณจาก (10-1.0) x (9.4/10)) การออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็กจึงเยอะมากๆเลยครับ
แคปซูล D เมื่ออยู่ในสภาพกรด ปล่อยยาออกมาตั้ง 8.5 กรัม (จากยา 10 กรัม) ในขณะที่ถ้าอยู่ในสภาพเบส กลับปล่อยยาออกมาเพียง 0.8 กรัม (จาก 10 กรัม) ดังนั้น เมื่อนำแคปซูลไปใช้จริง ก็จะปล่อยยาที่กระเพาะอาหารไปจนเกือบหมด เหลือปล่อยที่ลำไส้เล็กเพียง 0.12 กรัม (คำนวณจาก (10-8.5) x (0.8/10)) การออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็กจึงน้อยมากเลยครับ
คำตอบที่ถูกต้องสำหรับข้อนี้ก็คือ คำตอบข้อ 3. อย่างแน่นอนครับพี่น้อง ง ง ง
หมายเหตุ : จริงๆ ข้อนี้ไม่ต้องคำนวณก็ได้ครับ เพียงแต่ผู้น้อยคำนวณให้ดูเพื่อประกอบความเข้าใจเท่านั้นเองครับ